สรุปการวิเคราะห์เชิงปริมาณการซื้อขาย มีคำนิยาม คือ
ส่วนต่างระหว่างปริมาณหุ้นที่เสนอโดยผู้ขายเทียบกับปริมาณหุ้นของที่เสนอโดยผู้ซื้อ
เป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดราคาเปลี่ยนแปลง
การวิเคราะห์เชิงปริมาณซื้อขาย จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มของราคา (Price trends) และข้อมูลปริมาณการซื้อขายที่สอดคล้องกัน (Corresponding volume information)
Bernando and Judd (1996) ได้อธิบายถือความสัมพันธ์ว่า ข้อมูลปริมาณการซื้อขาย เป็นข้อมูลที่สำคัญในการวิเคราะห์ดังกล่าว เนื่องจาก การวิเคราะห์ด้านราคาอย่างเดียวไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนของสัญญาณซื้อขายและความแม่นยำได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้น การวิเคราะห์ราคาและปริมาณการซื้อขายพร้อมกัน จะสามารถชี้นำถึงสัญญาณการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นนั้นๆ ในอนาคตได้ ไม่ว่าความสัมพันธ์จะเป็นบวกหรือลบก็ตาม
หน้าที่ของตลาดแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ เปรียบเสมือนการประมูล โดยปริมาณการซื้อขายที่ถูกซื้อจะจับคู่กับปริมาณการซื้อขายที่ถูกขาย เมื่อราคาปรับขึ้น การเคลื่อนไหวขาขึ้นสะท้อนถึงอุปสงค์ที่มากกว่าอุปทาน (Buyers control) เช่นกันกับ เมื่อราคาลดลง การเคลื่อนไหวขาลงสะท้อนถึงอุปทานมากกว่าอุปสงค์ (Sellers control) นอกจากนี้ นักลงทุนจะยังรู้ว่า ในช่วงเวลาหนึ่ง แนวโน้มจะอยู่ในรูปแบบเชิงอุปสงค์หรืออุปทาน หรือเป็นการสะสมหรือแจกจ่าย ไม่ว่าแนวโน้มจะเป็นในรูปแบบ ขาขึ้น ขาลง หรือออกด้านข้าง ปริมาณการซื้อขายจะเป็นแรงผลักดันที่สนับสนุนทิศทางการเคลื่อนไหวเหล่านั้น
ปริมาณการซื้อขาย สาธิตให้เห็นถึงความจริงต่อพลังที่อยู่เบื่องหลังของอุปทานและอุปสงค์
• | Volume validates Price (ปริมาณการซื้อขายเป็นเครื่องมือแสดงเหตุผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของราคา) |
• | Volume liberates liquidity (ปริมาณการซื้อขายเป็นเครื่องมือที่สร้างสภาพคล่องในการซื้อขาย) |
• | Volume substantiates information (ปริมาณการซื้อขายเป็นเครื่องมือที่สร้างอิทธิพลต่อด้านพื้นฐานต่อข้อมูล) |
• | Volume reveals convictions (ปริมาณการซื้อขายเป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่น) |
• | Volume expresses interest and enthusiasm(ปริมาณการซื้อขายเป็นเครื่องมือที่สะท้อนความสนใจและความกระตือรือร้น) |
• | Volume denotes the disparity of opinions (ปริมาณการซื้อขายเป็นเครื่องมือที่บ่งบอกถึงความเห็นที่ต่างกัน) |
• | Volume is the fuel of the market (ปริมาณการซื้อขายแสดงถึงพลังการขับเคลื่อนให้แต่ตลาด) |
• | Volume exposed the truth (ปริมาณการซื้อขายไม่โกหก) |
• | Volume is the cause (ปริมาณการซื้อขายเป็นสาเหตุมากกว่าที่แสดงเป็นผล) |
• | Volume gives rise to velocity (ปริมาณการซื้อขายทำให้เกิดอัตราเร่ง) |
สำหรับพุทธศาสนสุภาษิตฉบับนี้ = ททมาโน ปิโย โหติ แปลว่า “ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก”
Happy New Year 2558 = สุขภาพแข็งแรง มั่งมีศรีสุขจงมีกับท่านผู้อ่านครับ
......
แล้วเจอกันกับ Chapter 3 Volume Analysis ตอน 2 นะครับ