China’s post-lockdown economy
China’s tier-one hard economic data for April will be keenly watched to gauge the speed of recovery.
สัปดาห์ที่ผ่านมา US ยังคงค่อยๆ ผ่อนคลายการ lockdowns สอดคล้องกับข้อมูล Google mobility แสดงว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของ US เพิ่มมากขึ้น ด้านตัวเลขเศรษฐกิจเดือน เม.ย. แย่ลงมาก การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลงมากเป็นประวัติการณ์ถึง 20.5 ล้านตำแหน่งงาน ใน และอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 14.7% จาก 4.4% ISM (non-manufacturing) ลดลง 10.7pp เหลือ 41.8 ด้านความตึงเครียดทางการค้าระหว่าง US-China เมื่อ 7 พ.ค. นาย Lighthizer ผู้แทนการค้า และนาย Mnuchin รัฐมนตรีคลัง ของ US ได้ประชุมทางโทรศัพท์กับรองนายกรัฐมนตรี Liu He และทั้งสองฝ่ายออกแถลงการณ์ที่ส่งสัญญาณว่ามีความคืบหน้าในดำเนินการตามข้อตกลงการค้าเฟสแรก อย่างไรก็ดี ด้านรัฐสภา นาย McConnell ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภากล่าวว่า วุฒิสภาจะพยายามผ่านร่างกฎหมาย the Uyghur Human Rights Policy Act ซึ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้วเมื่อปลายปีก่อน ซึ่งจะทำให้ประธานาธิบดีต้องมีบทลงโทษ (sanctions) เจ้าหน้าที่ทางการจีนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน Uyghur
ในเอเชีย China รายงานตัวเลขส่งออกเดือน เม.ย. ที่เพิ่มขึ้น 3.5% y-o-y จาก -6.6% ในเดือน มี.ค. ด้านการนำเข้าลดลง -14.2% จาก -1.0% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น USD45.3bn จาก USD19.9bn อย่างไรก็ดี Nomura ไม่คาดว่าตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวจะเป็นไปอย่างยั่งยืน ด้านรายงานเงินเฟ้อในประเทศเอเชียต่างๆ เพิ่มช้าลง/ลดลงอีก โดยเงินเฟ้อทั่วไป ของไทยลดลงถึง -3%y-o-y ในเดือน เม.ย. ( มี.ค.: -0.5%)
ด้าน Nomura มีการออกรายงาน Asia Economic Monthly ที่มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของ Indonesia (เป็น -3.2% จากที่คาดไว้ที่ -0.6% ในเดือนก่อน) Philippines (เป็น -4.8% จาก 1.6%) และ India (-5.0% จาก -0.5%) เพื่อสะท้อนการที่ประเทศเหล่านี้ยังต่อสู้กับ COVID-19 ขณะที่รัฐบาลมีมาตรการไม่มากในการดูแลผลกระทบ การปรับคาดการณ์ GDP Philippines เป็นหดตัว ทำให้ตอนนี้เศรษฐกิจในเอเชีย 9 ใน 10 แห่ง หรือทุกประเทศที่ Nomura ศึกษา ยกเว้น China จะถดถอยในปี 2020 (เดือนที่แล้ว มี 8 ใน 10 แห่ง หรือทุกประเทศยกเว้น China และ Philippines ที่จะถดถอย)
นอกจากนี้ ทีมนักเศรษฐศาสตร์ของ Nomura ในยุโรป ได้มีการปรับลดคาดการณ์ GDP ของ Europe เป็น -8.4% (เดิม -7.9%) ตามข้อมูลต่างๆ ที่ออกมา ส่งผลให้ Nomura ปรับลดคาดการณ์ Global GDP ปี 2020 สู่ระดับ -4.4% (สัปดาห์ก่อน: -3.5%)
สัปดาห์นี้ ตัวเลข/เหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่
• รายงาน เงินเฟ้อ เดือน เม.ย. (12 พ.ค) ยอดค้าปลีก (retail sales) และ การผลิตภาคอุตสาหกรรม (industrial production (IP) ( 17 พ.ค.) ของ US คาดจะแย่ลง : Nomura คาดว่า retails sales เดือนเม.ย. คงลดลง -10.5% m-o-m (Consensus : -11.0%; มี.ค. : -8.4%) เพราะเดือน เม.ย. โดนผลกระทบของการ lockdowns เต็มเดือน ขณะที่ของเดือน มี.ค. โดน lockdown ช่วงครึ่งเดือนหลัง อย่างไรก็ดี ด้าน core (“control” retail sales คาดว่าคงจะเพิ่มขึ้น 1.5% m-o-m (Consensus : -4.2%; มี.ค. : 2.0%) เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น
ด้าน industrial production (IP) คาดลดลงถึง -25.1% m-o-m ในเดือน เม.ย. (Consensus : -11.4%; มี.ค. : -5.4%) นำโดยหมวดยานยนต์ ด้านเงินเฟ้อ คาดว่า core CPI คงลดลง -0.3% (0.263%) m-o-m (Consensus : -0.2%; มี.ค. : -0.1%) เมื่อเทียบปีต่อปี core CPI คงเพิ่มช้าลงเหลือ 1.6% (1.627%) y-o-y (Consensus : 1.7%; มี.ค. : 2.1%) หลักๆ เป็นผลจากราคาตั๋วเครื่องบินและค่าที่พักที่ลดลงมา
ทั้งนี้ Nomura คาดว่า Q2 GDP ของ US จะหดตัวในอัตรา -41.7% q-o-q (saar) (Q1: -4.8%) และคาด Core CPI ที่ +1.0% y-o-y ใน Q2 (Q1 : 1.8%)
• รายงานเงินเฟ้อเดือน เม.ย. (12 พ.ค.) คาดเพิ่มช้าลง รายงานยอดค้าปลีก (retail sales) การผลิตภาคอุตสาหกรรม ( Industrial production (IP) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed asset investment (FAI)) (15 พ.ค.) คาดหดตัวน้อยลง และรายงานด้านตลาดเงิน เดือน เม.ย. ของ China: Nomura คาดว่า เงินเฟ้อ (CPI) เดือน เม.ย. คงเพิ่มช้าลงเหลือ 3.8% y-o-y ( Consensus : 3.7%; มี.ค.: 4.3%) จากราคาเนื้อหมู และราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารที่เพิ่มแผ่วลง ทั้งนี้ Nomura คาดว่า CPI ตลอด Q2 คงเพิ่มช้าลงเหลือ 4.1%y-o-y (Q1: 5.0%)
ด้าน retail sales เดือน เม.ย. Nomura คาดว่าคงหดตัวน้อยลงเหลือ -8.0% y-o-y ในเดือน เม.ย. (Consensus : -5.9%; มี.ค. : -15.8%) ตามการบริโภคที่ค่อยๆ ฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดยานยนต์ คาด industrial production (IP) เดือน เม.ย. หดตัวน้อยลงเหลือ -0.5% y-o-y ในเดือน เม.ย. (Consensus : 1.5%; มี.ค. : -1.1%) ตามการกลับมาเปิดธุรกิจที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ตัวเลขสะท้อนการผลิตต่างๆ เช่น การเดินเครื่องเตาหลอมเหล็ก (blast furnace) การผลิตเหล็ก และการใช้ถ่านหินของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ 6 แห่ง ยังสะท้อนว่าตัวเลขน่าจะยังหดตัว y-o-y ดังกล่าว ด้าน FAI คาดว่าคงหดตัวน้อยลงเหลือ -2.0% y-o-y จากที่ -9.4% ในเดือน มี.ค. และทำให้ตัวเลข ytd ของเดือน เม.ย. คงอยู่ที่ -11.2% ytd (Consensus : -9.5%; มี.ค. : -16.1%) ตัวเลขที่หดตัวน้อยลง หลักๆ เป็นผลจากหมวดก่อสร้าง ทั้งนี้ Nomura คาดว่า Q2 GDP ของ China จะหดตัวน้อยลงเหลือ -0.5% (Q1 : -6.8%)
ด้านรายงานด้านตลาดการเงินที่อาจจะออกมาในสัปดาห์นี้ คาดว่า การปล่อยสินเชื่อใหม่ในสกุลเงินหยวน คาดว่ามีจำนวนน้อยลงเหลือ RMB1,500bn ในเดือน เม.ย. (Consensus : RMB1,370bn ; มี.ค. : RMB2,893bn) การระดมทุนรวม (aggregate financing (AF) ในเดือน เม.ย. คาดว่ามีจำนวนน้อยลงเหลือ RMB2,900bn (Consensus : RMB2,900bn ; มี.ค. : RMB5,149bn) ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยด้านฤดูกาล ด้านปริมาณเงิน (M2) คาดว่าคงเพิ่มขึ้น 10.4% y-o-y ในเดือน เม.ย. (Consensus : 10.3%; มี.ค. : 10.1%)
• การผ่อนคลายการ lockdown ระยะที่ 2 ของไทย (15 พ.ค.): เมื่อ 10 พ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวว่า ศบค.ชุดใหญ่ที่จะมีการประชุมเรื่องมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 2 ในวันที่ 15 พ.ค. การที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีน้อย ทำให้เราน่าจะเห็นการผ่อนคลายระยะที่ 2 ในครึ่งหลังของเดือน พ.ค. ตามที่ ศบค. วางแผนไว้ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยจะผ่านจุดต่ำสุดใน Q2 ทั้งนี้ Nomura คาดว่า GDP คงลดลง -3.5% y-o-y ใน Q1 และจะหดตัวหนักขึ้นในอัตรา -9.9% ใน Q2 ก่อนจะติดลบน้อยลงเหลือ -6.4% ใน Q3 และ -5.7% ใน Q4 ตามลำดับ ส่งผลให้ทั้งปี 2020 GDP จะหดตัว -6.3% ก่อนจะฟื้นตัว 3.8% ในปี 2021
Our view in a nutshell
United States • เศรษฐกิจจะถดถอยลึกแต่ไม่นานใน H1 ก่อนจะค่อยๆฟื้นตัวใน H2 จากแรงหนุนของนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย • Fed จะแช่ดอกเบี้ยไว้ที่ขอบล่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังรักษาประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน " (effective lower bound (ELB))” ไว้ตลอดปี 2021 เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ • Fed จะดำเนินการให้กู้ฉุกเฉินต่างๆ ตามที่ประกาศไว้ และจะทำให้มั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะไม่เป็นอุปสรรคของการเติบโต • Nomura คาดว่าจะมีมาตรการการคลังเพิ่มเติมจาก Washington แต่อาจจะได้ผลน้อยเพราะมาตรการ social distancing • อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยน่าจะสูงถึงราว 15-20% ใน Q2 เพราะ COVID-19 กระทบตลาดแรงงานอย่างมาก • เงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะลดลงใน Q2 เพราะ COVID-19 ที่ดึงราคาในภาคบริการ และทำให้มีแรงงานส่วนเกินในตลาดแรงงาน • ความเสี่ยงคือ ถ้า social distancing ล้มเหลว ถ้าตลาดสินเชื่อและภาคการเงินตึงเครียด
Europe • การระบาดของ COVID-19 ทั่ว Europe จะทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างมากในปี 2020 • ราคาน้ำมันที่ลดลง ค่าเงิน euro ที่แข็งค่า และอุปสงค์ที่ลดลงเพราะ COVID-19 จะทำให้เงินเฟ้อของ euro area ลดลง • ECB จะคงดอกเบี้ย และจะเพิ่มวงเงิน PEPP ซึ่งปัจจุบันมีวงเงินที่ €750bn ในการประชุมเดือน มิ.ย. • Nomura ปรับลดคาดการณ์ UK GDP ลงอีก คาดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยใน H1 โดย GDP จะลดลงเกิน 15% จาก Q4 2019 • BOE ได้ลดดอกเบี้ย15 bp สู่ระดับ 0.10% และจะเพิ่ม QE วงเงิน ?200bn Nomura ไม่คาดว่าจะมีการผ่อนคลายอีกในกรณีฐาน • มีความเสี่ยงส่วนปลาย ( tail risks) มากขึ้น เรื่อง Brexit cliff edge (คือ กรณี UK ออกจาก EU โดยไม่มีข้อตกลง (withdrawal agreement) แต่ผลลัพธ์ยังมีความไม่แน่นอนเพราะผลของ COVID-19
Japan • การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ GDP จะลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาสจนถึง Q2 ก่อนที่ค่อยๆ ฟื้นตัว • คาดว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน (core CPI) จะอ่อนลงและลงไปต่ำกว่า 0%y-o-y ใน Q4 นำโดยราคาน้ำมันที่ลดลง • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า ?117trn จะช่วยให้เศรษฐกิจไม่เข้าสู่วงจรอุบาทก์ (vicious cycle) แต่คงมีผลจำกัดต่ออุปสงค์ • ความเสี่ยงหลักยังคงเป็นเรื่องค่าเงินเยนแข็งค่าต่อเนื่องจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างมากและการที่ตลาดการเงินยิ่งเลี่ยงความเสี่ยง
Asia • GDP ของ Asia จะลดลง -1.4% y-o-y ในปี 2020 เพราะ COVID-19 เทียบกับ +5.3% ในปี 2019 เศรษฐกิจ 9 จาก 10 แห่งจะถดถอย • เศรษฐกิจ China จะแย่ใน Q1 แต่ของประเทศอื่นๆ จะแย่มากใน Q2 จากผลกระทบของการปิดเมือง ( lockdowns) และอุปสงค์ภายนอกที่แย่ลง • เศรษฐกิจจะฟื้นใน H2 แต่เป็นไปอย่างช้าๆ เพราะการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และกำไรของธุรกิจที่แย่ลง • แม้ห่วงโซ่อุปทานจะสะดุด แต่ก็คาดว่าเงินเฟ้อจะไม่เฟ้อ เพราะราคาน้ำมันที่ลดลงและอุปสงค์โดยรวมที่แย่ลง • นโยบายการเงินและการคลัง ผ่อนคลายมากขึ้นแล้ว แต่จะมีการผ่อนคลายมากขึ้นอีก • China: คาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงหดตัว –0.5%ใน Q2 ทำให้ทางการจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่เร็วๆ นี้ • Korea: เศรษฐกิจจะแย่สุดใน Q2 จากอุปสงค์ภายนอกที่แย่ ทำให้คาดว่า BOK จะลดดอกเบี้ยใน Q2 • India: COVID-19 ท่ามกลางภาคการเงินที่อ่อนแอจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวในปี 2020 ขณะที่นโยบายทั้งการเงินและการคลังและสภาพคล่องผ่อนคลายมากขึ้น • Indonesia: การควบคุม COVID-19 ได้ช้า มีผลต่อการเติบโต มีความเสี่ยงทางการคลังมากขึ้น และเจอแรงกดดันด้านดุลการชำระเงิน • Australia: คาดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยลึกใน H1 ทำให้อัตราการว่างงานจะเพิ่มจาก 5.1% เป็น 9% ภายในสิ้นปี เงินเฟ้อลดลงอย่างแรง
United States
Europe
Japan
Asia
รายงานของ Nomura ที่ CNS (IRIS) มีการเผยแพร่บทสรุปเป็นภาษาไทยในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
1. Asia Economic Monthly: Not yet out of the woods (8 May 2020) Northeast Asia has an edge over ASEAN-5 and India, but the former still has to deal with an impending export shock, while the latter is battling COVID-19 and its aftershocks.
• ภายในภูมิภาคเริ่มมีภาพที่แตกต่างกัน (diverge) มากขึ้น กล่าวคือ ประเทศแถบ Northeast Asia ดูได้เปรียบกว่า Southeast Asia และ India อย่างไรก็ดี Nomura เห็นว่าทั้งสองแถบต่างยังเผชิญความท้าทาย Northeast Asia จะเผชิญภาวะการส่งออกที่แย่ลงอย่างหนัก (export shock) ในไม่ช้า ขณะที่ Southeast Asia และ India ยังต่อสู้กับ COVID-19 แม้ว่าจะเริ่มผ่อนคลายการปิด (lockdowns) ลงแล้ว • Divergent infection curves: แถบ Northeast Asia (Taiwan, Korea, China และ Hong Kong) ประสบความสำเร็จในลดการระบาดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การควบคุมการผ่านแดน การใช้เทคโนโลยีติดตามตัว การตรวจจำนวนมาก (mass testing) ( ในกรณี Korea) และการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันลดลงเหลือเพียงตัวเลขหลักเดียว หรือเป็นศูนย์ Hong Kong และ South Korea ได้ผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ในสัปดาห์นี้ และการใช้ชีวิตกลับสู่ปรกติภายใต้บริบทใหม่ (new normal) ตรงกันข้าม แถบ ASEAN-5 และ India ยังกำลังต่อสู้กับ COVID-19 การ lockdowns ช่วยให้การระบาดช้าลง แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมยังเพิ่มขึ้น ยกเว้น Thailand และ Malaysia จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันของ Singapore, Indonesia และ Philippines เพิ่มช้าลงแต่ยังอยู่ระดับสูง ขณะที่ของ India ยังเร่งขึ้นแม้ว่าจะมีการ lockdowns การที่ผลกระทบของการ lockdowns ต่อเศรษฐกิจมีความรุนแรง ขณะที่บางประเทศที่ควบคุมการระบาดได้ดีขึ้น ทำให้เริ่มมีการผ่อนคลายบางส่วน อย่างไรก็ดี อัตราส่วนการตรวจหาเชื้อต่อประชากร 1 ล้านคน ยังต่ำสุดใน Indonesia (444) India (925) และ Philippines (1279) (ณ 7 พ.ค.) สะท้อนว่ามีความเสี่ยงที่การติดเชื้อรายใหม่จะยังอยู่ในระดับสูง หรือเร่งตัวขึ้น หลังการผ่อนคลายการ lockdowns
• Divergent hit to domestic activity: การที่ Northeast Asia ควบคุมการระบาดได้ดีกว่าและมีการ lockdowns ที่เข้มงวดน้อยกว่า ASEAN-5 และ India ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจถูกกระทบน้อยกว่า ข้อมูลจาก Google Mobility ซึ่งบอกภาพกิจกรรมค้าปลีกและสันทนาการของเอเชีย ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบกับเส้นเวลาฐาน (baseline) ซึ่งใช้ค่ากลางในช่วง 5 สัปดาห์ ในช่วง 3 ม.ค.-6 ก.พ.) ข้อมูล Google Mobility สะท้อน กิจกรรมดังกล่าวลดลงราว 80% ใน India, Philippines และ Malaysia แต่ลดลงแค่ราว 13% ใน Korea และ Taiwan
• Divergent policy space and response: COVID-19 ส่งผลให้กระแสเงินสดของธุรกิจและบุคคล หยุดชะงัก ความเร็วและขนาดของนโยบายเพื่อดูแลจึงสำคัญ ที่จะทำให้มั่นใจว่า shock ครั้งนี้จะไม่ก่อให้ความเสียหายอย่างถาวร ผ่านการล้มละลายและการว่างงานในระดับสูง ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีแรงงานนอกระบบมากและมีระบบเครือข่ายดูแลระบบสังคมไม่เพียงพอ ผลกระทบจึงรุนแรงกว่า ทั้งนี้สัดส่วนของแรงงานนอกระบบต่อการจ้างงานรวมสูงถึงราว 80% ใน Indonesia และ India ขณะที่อยู่ที่ 28.8% ใน Korea อย่างไรก็ดี การใช้นโยบายเพื่อรับมือกลับน้อยสุดในประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากสุด ซึ่งสะท้อนข้อจำกัดด้านเครื่องมือทางการคลังที่เหลืออยู่ Korea, Hong Kong และ Taiwan มีนโยบายสนับสนุนอย่างมาก ขณะที่ของ India (0.8% ของ GDP) Philippines (1.4%) และ Indonesia (2.5%) ดูแล้วไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ ทำให้ความเสียหายทางเศรษฐกิจน่าจะไม่น้อยในประเทศเหล่านี้
• แม้ตอนนี้ประเทศแถบ Northeast Asia จะดูได้เปรียบและยืนหยัดได้ดีกว่า แต่ในช่วงหลายไตรมาสข้างหน้า Northeast Asia น่าจะถูกกระทบจากการส่งออกที่แย่ลง ซึ่งจะส่งผลกระทบกลับมายังอุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมการกลับมาทำการผลิตแล้ว แต่คำสั่งซื้อสินค้าออกน่าจะเหือดหาย ทำให้ธุรกิจต้องเดินเครื่องการผลิตน้อยลง หรือไม่ก็เสี่ยงที่จะมีสินค้าคงคลังล้นเกิน หลังผ่านไประยะเวลาหนึ่ง (lag) อุปสงค์ต่างประเทศที่แย่ลงจะส่งผลกระทบอุปสงค์ในประเทศ ผ่านการที่ธุรกิจลดการลงทุนและลดการจ้างงาน เริ่มมีหลักฐานเรื่องนี้ให้เห็น กล่าวคือ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ Korea และ Taiwan ลดลง Leading composite index ของ Korea หดตัว -0.4% m-o-m ในเดือน มี.ค. เป็นการลดลงรายเดือนมากสุดนับแต่ ต.ค.2002 ขณะที่ของ Taiwan ยังไม่หยุดลดลง สะท้อนว่า Northeast Asia ยังไม่ผ่านจุดที่แย่สุด
• นับจาก Q2 นักลงทุนสนใจเรื่องการผ่อนคลายการ lockdown และเศรษฐกิจกำลังปรับตัวหา new normal อย่างไรก็ดี Nomura เห็นว่าความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยังโน้มไปด้านต่ำ เพราะผลกระทบที่ตามมา (knock-on effects) จาก COVID-19 จะมีให้เห็น Northeast Asia ซึ่งคุมการระบาดได้ดี จะเจอผลกระทบการส่งออก เพราะมีเศรษฐกิจแบบเปิด ซึ่งเรื่องนี้ตลาดอาจประเมินไว้น้อยไป สะท้อนได้จากการคาดการณ์ ของ Nomura ที่คาดการณ์ GDP ของ Korea (Nomura: -5.9% y-o-y; Consensus Economics (เดือน เม.ย.) : -0.5%) China (1.5%; 2.0%) Taiwan ( -3.1%: 0.1%) Hong Kong (-8.7%; -3.3%) ไว้ต่ำกว่าที่ consensus คาด ส่วนประเทศที่เหลือที่ยังต่อสู้กับ COVID-19 และมีมาตรการไม่มากในการดูแลผลกระทบ ตลอดจนยังมีปัจจัยลบภายนอกที่รออยู่ ทำให้ในเดือนนี้ Nomura ได้หั่นคาดการณ์ GDP ของ Indonesia (เป็น -3.2% จากที่คาดไว้ที่ -0.6% ในเดือนก่อน) Philippines (เป็น -4.8% จาก 1.6% ) และ India (-5.0% จาก -0.5%) ลงจากเดิม
2. UK Perspectives: BoE tees up another ?100bn of QE (8 May 2020)
• เมื่อ 7 พ.ค. Bank of England ตัดสินใจคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.10% และคงเป้าหมายยอดการซื้อสินทรัพย์ที่ ?645bn ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่ BoE เห็นว่าต่ำสุดแล้ว และการจะเพิ่มเป้าหมายการซื้อสินทรัพย์นั้นรอไว้ประกาศตอน 18 มิ.ย. ก็ได้ เพราะตอนนั้นจะเป็นช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่จะซื้อสินทรัพย์จนครบ ?200bn (ตามที่ได้ประกาศเมื่อเดือน มี.ค. ว่าจะซื้อเพื่อเพิ่มจาก ?445 bn เป็น ?645 bn ซึ่งน่าจะซื้อครบตอนต้นเดือน ก.ค. )
• ประเด็นที่ถือว่า BoE เอนเอียงไปในทางผ่อนคลาย (dovish) ก็คือ การลงมติเรื่องคง QE ในการประชุมครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ มีกรรมการคณะกรรมการนโยบายการเงินที่เป็นบุคคลภายนอก 2 คน ได้ลงมติให้มีการเพิ่มการซื้อสินทรัพย์อีก ?100bn ซึ่งสนับสนุนมุมมองของ Nomura ที่คาดว่า BoE จะประกาศการทำ QE เพิ่มอีกจำนวนดังกล่าวในการประชุมเดือน มิ.ย. (18 มิ.ย.) พร้อมทั้งอาจจะประกาศว่าอาจจะลดความรวดเร็วในการซื้อลงในช่วงครึ่งหลังของปีลง
• ในด้านการคาดการณ์เศรษฐกิจ BoE คาดการณ์ว่า GDP 2020 อาจลดลงถึง -14.0% ตามด้วยการขยายตัว 15% ในปี 2021 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 GDP อาจจะลดลงอย่างหนัก (-30%) แบ่งเป็น -5% ใน Q1 และ -25% ใน Q2
3. First Insights/China: Export growth rose while import growth slumped in April ( 7 May 2020)
• China รายงานการส่งออก เดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 3.5% y-o-y จาก -6.6% ในเดือน มี.ค. เป็นตัวเลขที่ผิดคาด (Consensus: -12.%; Nomura: -22.0%) ด้านการนำเข้าลดลง -14.2%y-o-y (Consensus: -10.0% ; Nomura: -18.0%) จาก -1.0% ในเดือน มี.ค. ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น USD45.3bn ในเดือน เม.ย. จาก USD19.9bn ในเดือนมี.ค.
• Nomura ไม่คาดว่าตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวจะเป็นไปอย่างยั่งยืน ตัวเลขที่สูงน่าจะมีผลหลักที่มาจากการส่งออกตามคำสั่งซื้อที่ตกค้างอยู่ใน Q1 ประกอบกับมีการส่งออกสินค้าหมวดการแพทย์เพิ่มขึ้นมาก Nomura คาดว่าการส่งออกจะกลับมาหดตัวอย่างมีนัยสำคัญในเดือน พ.ค. และ มิ.ย. โดยคาดว่าจะลดลง -22% (เดิมคาด -30% แต่ปรับดีขึ้นเหลือ -22% จากผลของการส่งออกหมวดการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น)
• Nomura คงคาดการณ์ Q2 GDP ของ China ว่าจะลดลงในอัตรา -0.5% y-o-y (Q1 : -6.8%) และคงคาดการณ์ว่าทางการ Beijing จะมีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอีก
4. European Perspectives/ GCC: The ball is now back in the ECB’s court (7 May 2020)
• เมื่อ 5 พ.ค. ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนี ( German Constitutional Court (GCC)) มีคำวินิจฉัยว่า การเข้าร่วมโครงการกับ ECB ในการซื้อสินทรัพย์ ( Public Sector Purchase Program (PSPP) ของธนาคารกลางของเยอรมนี (Bundesbank) อาจจะต้องยุติลงภายใน 3 เดือน ยกเว้น ECB จะยืนยันอย่างเพียงพอ (sufficient justification) ได้ว่าการทำ PSPP ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่รุนแรงต่อโครงการสนับสนุนด้านการเงินของ ECB และไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่สมเหตุสมผลหรือไม่สมส่วนต่อภาคเศรษฐกิจและภาคการคลัง ของ euro area • คำวินิจฉัยของ GCC ดังกล่าว ทำให้ตลาดการเงินกังวลมากขึ้น ต่อ euro area ซึ่งเผชิญความเสี่ยงหลายเรื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก COVID-19
• อย่างไรก็ดี Nomura เชื่อว่า ในที่สุด GCC จะยอมรับคำชี้แจงของ ECB ในเรื่องโครงการ PSPP ทั้งนี้ Court of Justice of the European Union (ECJ) เคยมีคำวินิจฉัยเมื่อ เดือน ธ.ค.2018 แล้วว่า การทำ PSPP อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ (mandates) ของ ECB ที่ทำได้ ตามมาตรา 5 ของ TFEU (Treaty on the Functioning of the European Union) นอกจากนี้ ECB จะให้เหตุผลเรื่องการที่ดอกเบี้ยนโยบายติดลบและเงินเฟ้อยังต่ำกว่าเป้าหมาย ทำให้ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องทำโครงการนี้
5. Economic Insights: Prepare for a COVID-19-induced food price surge (7 May 2020) EM economies are already facing a perfect storm. A global food price surge would drive an even greater wedge between DM and EM.
• แม้ก่อน COVID-19 ระบาด ก็มีสัญญาOว่าราคาอาหารโลกจะเพิ่มขึ้น เพราะปัจจัยที่กระทบอุปทาน เช่น เรื่องดินฟ้าอากาศ โรคระบาดอหิวาห์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever) ใน China ซึ่งส่งผลให้จำนวนสุกรของ China ปี 2019 หายไป ? และปัญหาตั๊กแตนที่ทำลายพืชผลใน Africa และ ล่าสุดคือ COVID-19 • การระบาดของ COVID-19 และการปิด (lockdowns) ร้านอาหาร ทำให้อุปสงค์ต่อสินค้าคงทนและสินค้าไม่จำเป็นมีน้อยลง แต่ไม่ใช่เรื่องอุปสงค์ต่ออาหาร เพราะเป็นสินค้าจำเป็น ขณะที่ COVID-19 มีผลต่อการเพาะปลูกและการกระจายอาหาร การขาดแคลนอาหารสัตว์ ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงที่ราคาสูงขึ้น มีผลต่อต้นทุนการเพาะปลูก และอาจมีผลต่อผลผลิต
• Nomura ได้เคยจัดทำ Food Vulnerability Index (NFVI) ซึ่งวัดความอ่อนไหวของประเทศต่อราคาอาหารที่เปลี่ยนไป ของ 110 ประเทศ และพบว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market (EM)) มีความอ่อนไหวมากที่สุด 5 ประเทศแรก ตามลำดับ คือ Syria, Tajikistan, Montenegro , Libya และ Cambodia ขณะที่ Thailand มีความอ่อนไหวน้อย โดยอยู่อันดับที่ 71 เมื่อเปรียบเทียบกับ Philippines ซึ่งอยู่ที่อันดับ 23 และ Indonesia ที่อยู่ที่อันดับ 68
6. First insights/Thailand: Deeper-than-expected deflation in April (5 May 2020) This supports our forecast for the BOT to cut its policy rate by another 25bp this month and an additional 25bp in June
• กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อทั่วไป (headline CPI) ลดลงเกินคาดที่ -3.0% y-o-y ในเดือน เม.ย. จาก -0.5% ในเดือน มี.ค. ต่ำกว่าคาด (Consensus: -1.2%; Nomura: -1.8%) เงินเฟ้อที่ลดลงมาก หลักๆ เป็นผลจากราคาพลังงานที่หดตัวถึง -29.3% y-o-y จาก ที่เพิ่มขึ้น 11.1% ในเดือน มี.ค. เป็นไปตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ด้านเงินเฟ้อหมวดอาหารเพิ่มช้าลงเหลือ 1.3% จาก 2.5% จากอุปสงค์ที่แย่ลงซึ่งลบล้างผลของภัยแล้ง ด้านเงินเฟ้อพื้นฐาน (คือเงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มช้าลงเหลือ 0.4% y-o-y จาก 0.5% ในเดือน มี.ค. (Consensus และ Nomura : 0.5%)
• เงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาด ยังเป็นผลจากเงินเฟ้อหมวดที่อยู่อาศัยและเครื่องตกแต่ง ซึ่งลดลง -4.6% y-o-y ในเดือน เม.ย. จาก 0.1% ในเดือน มี.ค. ส่วนหนึ่งสะท้อนผลของการอุดหนุน (subsidy) ด้านค่าน้ำค่าไฟ ราคาหมวดการแพทย์และอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มช้าลงเหลือ 0.2% y-o-y จาก 0.4% และหมวดสันทนาการและการศึกษาเพิ่มช้าลงเหลือ 0.3% จาก 0.5% สะท้อนอุปสงค์ที่แย่ลงจากผลของมาตรการ lockdown ซึ่งขยายเวลาจนถึงสิ้น Q2 แม้ว่าบางส่วนจะได้รับการผ่อนคลายตั้งแต่เดือน พ.ค.
• Nomura คงคาดการณ์ headline CPI ปี 2020 ที่ -1.3% (2019 : 0.7%) ซึ่งจะต่ำกว่าการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ( -1.0%) และต่ำกว่าช่วงเป้าหมายของ ธปท. ( 1-3%) ทั้งนี้ การคาดการณ์ของ Nomura สะท้อนว่า headline CPI ในช่วงที่เหลือของปี จะเฉลี่ยอยู่ที่ -1.7% y-o-y (4M20 : 0.4%) ด้วยความเสี่ยงของการคาดการณ์ยังโน้มไปทางด้านต่ำจากราคาน้ำมัน
• ในด้านนโยบายการเงิน Nomura คงคาดการณ์ว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 50 bp ใน Q2 โดยคาดว่าจะลด 25 bp ในการประชุมเดือน พ.ค. และอีก 25 bp ในการประชุมเดือน มิ.ย. ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.25% ซึ่ง Nomura เห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำสุดที่ยังรักษาประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน (effective lower bound) แล้ว
Investment Research and Investor Services 11 May 2020 | | | Fundamental Investment Analyst on Securities | Nuchjarin Panarode Analyst Registration No. 17871 Nuchjarin.panarode@th.nomura.com 02 638 5776, 02 081 2776
|
|