FOMC economic projections and China data
The FOMC will update its economic projections, and its long-run forecast will be of particular interest. In China, we expect credit growth to pick up as exports slump.
สัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดแรงงานของ US สะท้อนว่าตลาดแรงงานผ่านจุดต่ำสุดแล้ว เพราะการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมกลับมาเพิ่มขึ้น 2.509 ล้านตำแหน่ง ในเดือน พ.ค. (เทียบกับที่ลดลงถึง -20.687 ล้านตำแหน่งในเดือน เม.ย. และ -1.373 ล้านตำแหน่งในเดือนมี.ค.) ดีกว่าคาด (Nomura: -5.5mn, Consensus: -7.5mn) สอดคล้องกันนี้ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงลดลง -1.0% m-o-m (เม.ย.: +4.7%) ต่ำกว่าคาด (Nomura: +1.3%, Consensus:+1.0%) สะท้อนว่ามีแรงงานที่ค่าจ้างต่ำกว่ากลับสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น (Nomura: +1.3%, Consensus:+1.0%) อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 13.3% ในเดือน พ.ค. จาก 14.7% ในเดือน เม.ย. และดีกว่าคาด (Nomura: 18.5%, Consensus: 19.1%) ตัวเลขตลาดแรงงานที่ดีขึ้นสะท้อนว่ายอดค้าปลีก (retail sales) ซึ่งลดลง -13.3% m-o-m ในเดือน เม.ย. น่าจะเป็นจุดต่ำสุดเช่นกัน Nomura ได้ปรับคาดการณ์ Q2 GDP ของ US ว่าจะลดลง -39.6% q-o-q saar (เดิมคาด -49.3%q-o-q saar) ในยุโรป ECB (European Central Bank) ตัดสินใจขยายวงเงิน PEPP (Pandemic Emergency Purchase Progrom) อีก €600bn เป็น €1.35trn โดยการซื้อจะเป็นไปถึงกลางปี 2021 (เดิมถึง สิ้นปี 2020) และจะนำเงินต้นที่ได้รับไปลงทุนซ้ำถึงสิ้นปี 2022 เป็นอย่างน้อย สะท้อนว่า ECB ยังคงมีจุดยืนที่ผ่อนคลาย ในด้านพลังงาน ที่ประชุมประเทศสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกและประเทศพันธมิตรที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก ( OPEC+) ตกลงกันเมื่อ 6 มิ.ย. ว่าจะขยายเวลาการลดกำลังการผลิตน้ำมันวันละ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงปลายเดือนก.ค. 63 (ทั้งนี้ แต่เดิมเมื่อเดือนเมษายน OPEC+ ตกลงลดกำลังการผลิตลงวันละ 9.7 ล้านบาร์เรล ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. จนถึงสิ้นเดือนมิ.ย. และหลังจากนั้นจะลดวันละ 7.7 ล้านบาร์เรลจนถึงเดือน ธ.ค.) สัปดาห์นี้ ตัวเลข/เหตุการณ์ที่สำคัญ ได้แก่
• Euro area Sentix Index เดือน มิ.ย. (8 มิ.ย.): Nomura คาดว่า Sentix index (invester confidence) ของ euro area จะติดลบน้อยลงเหลือ -25.0 เดือน มิ.ย. (Consensus : n.a.; พ.ค. : -41.8) ตามการกลับมาทยอยเปิดเศรษฐกิจ การเปิดธุรกิจ ขณะที่ยังมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการคลัง โดยล่าสุดเมื่อ European Commission (EC) ได้เสนอเมื่อ 27 พ.ค. ให้มีการตั้งกองทุน EU recovery fund วงเงิน €750bn เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศสมาชิก (ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อ 9 เม.ย. EC ได้ออกมาตรการเพื่อพยุงเศรษฐกิจมูลค่า €540bn (4% ของ EU GDP) ซึ่งน่าจะช่วยหนุนการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ หลังการผ่อนคลายการ lockdowns • FOMC meeting (10 มิ.ย.): Nomura คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ทำให้ตลาดการเงินจะสนใจการสื่อสารด้านนโยยาย (forward guidance) และการคาดการณ์เศรษฐกิจ ( Summary of Economic Projections (SEP)) ของ Fed ว่าจะลดลงจากการคาดการณ์ใน เดือน ธ.ค. 2019 มากแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคาดการณ์ของปี 2020 และการคาดการณ์เศรษฐกิจในระยะยาว ด้านนาย Powell น่าจะส่งสัญญาณว่า Fed พร้อมจะซื้อสินทรัพย์มากขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
• รายงานเงินเฟ้อที่ลดลงและภาคการเงินที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นของ China: สัปดาห์ที่ผ่านมา China รายงาน Caixin PMI (services) เพิ่มขึ้น เป็น 55.0 จุด ในเดือน พ.ค. จาก 44.4 ในเดือน ดีกว่าตลาดคาด (47.3 ) ด้านการส่งออกเดือน พ.ค. ลดลง -3.3% y-o-y (เม.ย. :3.4%) ดีกว่าคาด (Nomura : -8.0%; Consensus: -5.7%) เช่นกัน ด้านการนำเข้าลดลง -16.7% y-o-y (เม.ย. : -14.2%) ต่ำกว่าคาด (Nomura : -15.0%; Consensus: -7.8%) ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นเป็น USD 62.93 bn (เม.ย. : USD 45.34bn) มากกว่าคาด (Nomura : USD50bn; Consensus: USD40.7bn)
วันที่ 10 มิ.ย. China จะมีรายงานเงินเฟ้อ Nomura คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จะเพิ่มช้าลงเหลือ 2.7%y-o-y ในเดือน พ.ค. (Consensus: 2.6%; เม.ย.: 3.3%) ตามราคาอาหารที่อ่อนตัวลง ด้านดัชนีราคาผู้ผลิตคงลดลง เหลือ -2.7%y-o-y ในเดือน พ.ค. (Consensus: -3.2%; เม.ย.: -3.1%) ตามราคาน้ำมันที่ลดลงและราคาสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ที่ลดลง
ด้านภาคการเงิน Nomura คาดว่า การปล่อยสินเชื่อใหม่ในรูปเงินหยวน คงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น RMB1800bn ในเดือน พ.ค. (Consensus: RMB1530bn ; เม.ย.: RMB1698bn) การระดมทุนรวมคงมีจำนวน RMB3400bn ในเดือน พ.ค. (Consensus: RMB3100bn ; เม.ย.: RMB3094bn) และปริมาณเงิน (M2) คงเพิ่มขึ้น 11.3%y-o-y (Consensus: 11.3%; เม.ย.: 11.1%) เป็นผลจากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและสินเชื่อของธนาคารกลาง (PBOC)
Our view in a nutshell
United States
• เศรษฐกิจจะถดถอยลึกแต่ไม่นานใน H1 ก่อนจะค่อยๆฟื้นตัวใน H2 จากแรงหนุนของนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย • Fed จะแช่ดอกเบี้ยไว้ที่ขอบล่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังรักษาประสิทธิภาพของนโยบายการเงิน (effective lower bound (ELB)) ไว้ตลอดปี 2021 เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่แย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ • Fed จะดำเนินการให้กู้ฉุกเฉินต่างๆ ตามที่ประกาศไว้ และจะทำให้มั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวจะไม่เป็นอุปสรรคของการเติบโต • Nomura คาดว่าจะมีมาตรการการคลังเพิ่มเติมจาก Washington แต่อาจจะได้ผลน้อยเพราะมาตรการ social distancing • อัตราการว่างงานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยน่าจะสูงถึงราว 15-20% ใน Q2 เพราะ COVID-19 กระทบตลาดแรงงานอย่างมาก • เงินเฟ้อพื้นฐานอาจจะลดลงใน Q2 เพราะ COVID-19 ที่ดึงราคาในภาคบริการ และทำให้มีแรงงานส่วนเกินในตลาดแรงงาน • ความเสี่ยงคือ ถ้า social distancing ล้มเหลว ถ้าตลาดสินเชื่อและภาคการเงินตึงเครียด
Europe • การระบาดของ COVID-19 ทั่ว Europe จะทำให้เศรษฐกิจถดถอยอย่างมากในปี 2020 • ราคาน้ำมันที่ลดลง ค่าเงิน euro ที่แข็งค่า และอุปสงค์ที่ลดลงเพราะ COVID-19 จะทำให้เงินเฟ้อของ euro area ลดลง • ในการประชุม4 มิ.ย. ECB ประกาศเพิ่มวงเงิน PEPP อีก €600bn และจะลงทุนซ้ำใน PEPP จนถึงสิ้นปี 2022 เป็นอย่างน้อย • Nomura ปรับลดคาดการณ์ UK GDP ลงอีก คาดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยใน H1 โดย GDP จะลดลงเกิน 15% จาก Q4 2019 • BOE ได้ลดดอกเบี้ย15 bp สู่ระดับ 0.10% และจะเพิ่ม QE วงเงิน ?200bn Nomura ไม่คาดว่าจะมีการผ่อนคลายอีกในกรณีฐาน • มีความเสี่ยงส่วนปลาย ( tail risks) มากขึ้น เรื่อง Brexit cliff edge (คือ กรณี UK ออกจาก EU โดยไม่มีข้อตกลง (withdrawal agreement) แต่ผลลัพธ์ยังมีความไม่แน่นอนเพราะผลของ COVID-19
Japan • การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ GDP จะลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาสจนถึง Q2 ก่อนที่ค่อยๆ ฟื้นตัว • คาดว่าเงินเฟ้อพื้นฐาน (core CPI) จะอ่อนลงและลงไปต่ำกว่า 0%y-o-y ใน Q4 นำโดยราคาน้ำมันที่ลดลง • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า ?117trn จะช่วยให้เศรษฐกิจไม่เข้าสู่วงจรอุบาทก์ (vicious cycle) แต่คงมีผลจำกัดต่ออุปสงค์ • ความเสี่ยงหลักยังคงเป็นเรื่องค่าเงินเยนแข็งค่าต่อเนื่องจากความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอยอย่างมากและการที่ตลาดการเงินยิ่งเลี่ยงความเสี่ยง
Asia • GDP ของ Asia จะลดลง -1.3% y-o-y ในปี 2020 เพราะ COVID-19 เทียบกับ 5.2% ในปี 2019 เศรษฐกิจ 9 จาก 10 แห่งจะถดถอย • เศรษฐกิจ China จะแย่ใน Q1 แต่ของประเทศอื่นๆ จะแย่มากใน Q2 จากผลกระทบของการปิดเมือง ( lockdowns) และอุปสงค์ภายนอกที่แย่ลง • เศรษฐกิจจะฟื้นใน H2 แต่เป็นไปอย่างช้าๆ เพราะการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และกำไรของธุรกิจที่แย่ลง • แม้ห่วงโซ่อุปทานจะสะดุด แต่ก็คาดว่าเงินเฟ้อจะไม่เฟ้อ เพราะราคาน้ำมันที่ลดลงและอุปสงค์โดยรวมที่แย่ลง • นโยบายการเงินและการคลัง ผ่อนคลายมากขึ้นแล้ว แต่จะมีการผ่อนคลายมากขึ้นอีก • China: Nomura เพิ่มคาดการณ์ Q2 GDP เป็น 1.2% แต่ลดคาดการณ์ช่วง H2 จากแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น • Korea: เศรษฐกิจจะแย่สุดใน Q2 จากอุปสงค์ภายนอกที่แย่ ทำให้คาดว่า BOK จะลดดอกเบี้ยใน Q2 • India: COVID-19 ท่ามกลางภาคการเงินที่อ่อนแอจะทำให้เศรษฐกิจหดตัวในปี 2020 ขณะที่นโยบายทั้งการเงินและการคลังและสภาพคล่องผ่อนคลายมากขึ้น • Indonesia: การควบคุม COVID-19 ได้ช้า มีผลต่อการเติบโต มีความเสี่ยงทางการคลังมากขึ้น และเจอแรงกดดันด้านดุลการชำระเงิน • Australia: คาดว่าเศรษฐกิจจะถดถอยลึกใน H1 ทำให้อัตราการว่างงานจะเพิ่มจาก 5.1% เป็น 9% ภายในสิ้นปี เงินเฟ้อจะลดลงมาก
United States
Europe
Japan
Asia
รายงานของ Nomura ที่ CNS (IRIS) มีการเผยแพร่บทสรุปเป็นภาษาไทยในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่เผยแพร่)
1. Asia Insights/Thailand: BOT’s minutes highlight various concerns beyond growth outlook ( 5 June 2020) Inflation fell deeper into negative territory in May on low energy prices and falling core inflation.
• รายงานการประชุม 20 พ.ค. ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย สะท้อนว่า กนง. ไม่ได้กังวลแค่เรื่องเศรษฐกิจแย่ลง (กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจจะหดตัวหนักกว่าที่คาดไว้ที่ -5.3%) และการว่างงานที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น (กนง.เห็นว่าตลาดแรงงานอาจแย่ลงอย่างมาก และกินเวลานานกว่าจะกลับมาปรกติ ซึ่งจะมีผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและลดระดับศักยภาพของการเติบโตในระยะยาว) แต่ยังกลเรื่องสภาพคล่องและความเสี่ยงที่ครัวเรือนและธุรกิจอาจล้มละลายด้วย • Nomura เห็นว่าความเสี่ยงเหล่านี้อาจจะแก้ไม่ได้ด้วยการลดดอกเบี้ยอย่างเดียว และอาจเป็นเหตุผลที่กรรมการ กนง. 3 คนที่ไม่เห็นด้วย เรื่องการลดดอกเบี้ย โดยเห็นว่าควรคงดอกเบี้ย และไปใช้มาตรการด้านตลาดการเงินและสินเชื่อแทน • ด้านกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า เงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. ลดลง ที่ -3.4% y-o-y จาก -3.0% ในเดือน เม.ย. จากผลของราคาพลังงานที่ลดลงมาก ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานอ่อนลงเหลือ 0.0% จาก 0.4% จากผลของการที่รัฐบาลปรับลดราคาค่าสาธารณูปโภค • Nomura คงคาดการณ์ว่า กนง. จะพักเรื่องดอกเบี้ยในการประชุม 24 มิ.ย. ก่อนที่จะหั่นดอกเบี้ยอีก 25 bp ใน Q3 และคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปี 2020 ที่ -1.3% ต่ำกว่าที่ ธปท.คาดที่ -1.0%
2. European Perspectives - ECB Review: Over-delivery (5 June 2020)
• European Central Bank (ECB) ประชุม 4 มิ.ย. และตัดสินใจขยายวงเงินสำหรับโครงการซื้อสินทรัพย์ PEPP (Pandemic Emergency Purchase Program) อีก € 600bn (มากกว่าที่ consensus และ Nomura คาดไว้ที่จำนวน €500bn) สู่ระดับ €1.35trn โดยจะซื้อสินทรัพย์จนถึงกลางปี 2021 (เดิมซื้อถึงสิ้นปี 2020) • นอกจากนี้ยังประกาศว่าจะนำเงินต้นที่ครบกำหนดไปลงทุนซ้ำ (reinvestments of maturing principal payments) ไปจนถึงสิ้นปี 2022 ซึ่งถือว่าไม่อยู่ในการคาดการณ์ของตลาดเช่นกัน • เมื่อประกอบกับการที่ EU เสนอตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นตัว ( recovery fund) และการที่ Germany มีนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากกว่าคาด เหล่านี้ถือเป็นกระแสการผ่อนคลายที่มีนัยสำคัญของ Europe
3. Nomura Investment Forum Asia: Connecting markets East and West Day 1 & 2 (4 June 2020) Highlights and key takeaways from Nomura’s flagship forum in Asia 2020
• การสัมมนา Nomura Investment Forum Asia (NIFA) ปี 2020 ระหว่าง 1-5 มิ.ย. ปีนี้เป็นการสัมมนาออนไลน์ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ในวันที่ 1 และ 2 ของการสัมมนา ดังนี้ • The global economic outlook: ในด้านแนวโน้มเศรษฐกิจ คำถามหลักก็คือแต่ละประเทศจะฟื้นตัวอย่างไรและเร็วแค่ไหนจาก COVID-19
o China เป็นประเทศแรกที่โดนกระทบจาก COVID-19 และจะเป็นประเทศแรกที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งใน Q2 อย่างไรก็ดี Nomura คิดว่าการเติบโตใน Q3 และ Q4 อาจต่ำกว่าตลาดคาดหมายไว้
? Q1 GDP หดตัวหนักถึง -6.8% y-o-y Nomura เชื่อว่าเศรษฐกิจจะฟื้นใน Q2 ที่ +11% q-o-q ? การส่งออกเป็นประเด็นที่น่ากังวลในระยะต่อไป ? ทางการยังระมัดระวังในการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากกลัวเรื่องฟองสบู่ ทำให้เน้นแค่เรื่องการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งอาจจะขยายตัว 10-20% ? ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะปล่อยกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กจำนวน RMB400bn เพื่อให้ไปปล่อยกู้ต่อแก่ธุรกิจขนาดเล็ก แม้จะดีในระยะสั้น แต่ Nomura เห็นว่ามีความเสี่ยงที่จะเห็น NPL เพิ่มขึ้นในระยะกลาง
o เศรษฐกิจจะหดตัวแรงแต่ไม่นาน (a short and deep contraction) และขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว (recovery phase)
? อย่างไรก็ดี การ lockdown ที่ผ่านมา คาดว่าจะส่งผลต่ออัตราการว่างงานให้พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 18.2% ใน Q2 เป็นรองแค่สมัย Great Depression และส่งผลให้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินซึ่งมีหนี้สูง จะมีปัญหาผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น ในไม่ช้า ? แม้ว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ COVID-19 ใน US จะลดลง แต่ยังถือเป็นตัวเลขที่สูง ทำให้น่ากังวลเมื่อเปิดประเทศ ? มีการกระตุ้นทางการคลังวงเงิน USD3trn และ Nomura คาดว่าจะมีอีก USD500bn แปลว่า การขาดดุลทางการคลังไตรมาสเดียวอาจสูงถึง 28% ของ GDP ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยเห็นแม้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 (WWI และ WWII) ? Fed มีการขยายงบดุลด้วยความรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และยังไม่มีเหตุผลที่จะเลิกทำ เพราะยังไม่มีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ Nomura คาดว่าสิ่งต่อไปที่ Fed จะทำอาจจะเป็นเรื่องควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve control) ? ด้านความสัมพันธ์กับ China เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Trump ยังไม่ได้ประกาศมาตรการที่เกี่ยวกับ Hong Kong เพราะอาจจะไม่ต้องการทำให้สถานการณ์แย่ลง ขณะที่คะแนนนิยมของพรรค Democrat กำลังเพิ่มขึ้น
o Europe มีภาพการว่างงาน ค่าจ้างที่แย่ลงโดยไม่คาดคิด การฟื้นตัวของอุปสงค์ที่ช้า จะทำให้เงินเฟ้ออ่อนลง (disinflation)
? Nomura คาดว่าผลกระทบของ COVID-19 จะเป็นไปถึงปี 2024 อัตราการว่างงานใน Europe ต่ำกว่าของ US จากมาตรการรักษาการจ้างงาน UK, Italy, Spain ถูกกระทบมากเพราะพึ่งการท่องเที่ยวและภาคบริการ ? ECB เสนอให้มีกองทุนเพื่อการฟื้นตัว (a recovery fund) เพิ่มเติมจาก QE ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีนัยสำคัญ แต่เรื่องนี้ต้องรอการอนุมัติ ด้าน UK นั้น Nomura ไม่คาดว่า UK จะใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ? เรื่อง Brexit ดูไม่อยู่ในหน้าหนึ่ง ในตอนนี้
o Japan ผ่านจุดแย่สุดแล้วและเริ่มฟื้นตัวใน Q3 แบบตัว L
? มีความเสี่ยงเรื่องการระบาดรอบสอง และจุดยืนของรัฐบาลที่ดูระมัดระวัง ? ผลกระทบต่อเนื่อง (knock-on impact ) ต่อยอดขายและกำไรของภาคธุรกิจ (โดยเฉลี่ย ยอดขายธุรกิจลดลง 30% ? ว่างงานจะเพิ่มขึ้น เพราะตั้งแต่ปี 2013 มีสัดส่วนของการจ้างงานชั่วครางมากขึ้นในธุรกิจร้านอาหาร ค้าปลีก และที่พักอาศัย ซึ่งอิงกับการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ? มาตรการฉุกเฉินวงเงิน JPY117trn ประกาศเมื่อเดือน เม.ย. และเดือนที่ผ่านมา มาตรการเศรษบกิจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (การประกาศงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมครั้งที่ 2) อย่างไรก็ดี ราว 80% เป็นเงินกู้ชั่วคราว (bridge financing) ซึ่งช่วยเลี่ยงการล้มละลาย แต่ไม่เพียงพอที่จะรับมือผลกระทบในวงกว้างของ COVID-19 ? การตัดสินใจซื้อพันธบัตรรัฐบาล (JGB) โดยไม่จำกัดถือเป็นการตัดสินใจที่มีนัยสำคัญ
• Asian equity market outlook: นักกลยุทธ์ตลาดหุ้นของ Nomura เชื่อว่าประเด็นความสนใจจะอยู่ที่ Big 4 (US, China, Japan และ EU) การที่เส้นกราฟของโรคระบาดเริ่มแบน และเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเปิด การผ่อนคลายการ lockdown ทำให้ตลาดหุ้นวิ่งเร็วเพราะแรงหนุนจากสภาพคล่อง (liquidity) จากทั้งมาตรการการเงิน การคลังและการอุดหนุนสินเชื่อ และสภาพอารมณ์ (sentiment) อย่างไรก็ดี แนวโน้มของผลประกอบการณ์ยังไม่ชัดเจน (สมัยวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 ใช้เวลา 2-3ปีที่ผลประกอบการจะกลับมาปรกติ ) และเป็นที่คาดว่าจะกลับมาปรกติภายในปลายปี 2021 ขณะที่ ตลาดเอเชียโดยเปรียบเทียบแล้วยังมีการลงทุนน้อยไป (underinvested) ตลาดหุ้นใหญ่ๆ ใน Asia เช่น Japan และ China ซึ่งเสนอผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล ยังถูกมองข้ามเพราะความลำเอียงเข้าข้างประเทศตนเองของพอร์ตการลงทุนทั่วโลก (`home country biasness by global portfolios)
4. Asia Insights/ China: The PBoC’s new QE program for supporting small business (2 June 2020)
• เมื่อ 1 มิ.ย. People’s Bank of China (PBoC) ธนาคารกลางของจีน พร้อมกับกระทรวง 4 แห่ง รวมทั้งกระทรวงการคลัง ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายสินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้แก่ธุรกิจขนาดเล็ก แบ่งเป็น RMB400bm เพื่อซื้อสินเชื่อที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จากธนาคารขนาดเล็ก และอีก RMB400bn เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle (SPV)) ไว้ช่วยในการขยายการปล่อยสินเชื่อให้ได้ถึง RMB3.7trn แก่ธุรกิจขนาดเล็ก • มาตรการดังกล่าวถือเป็น การผ่อนคลายเชิงปริมาณ ( quantitative easing (QE) อันใหม่ หลังจากมีมาตรการปล่อยกู้ต่าง เช่น MLF (medium-term lending facility ซึ่งเป็นการที่ PBoC ปล่อยกู้แก่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่) และ PSL (pledged supplementary lending ซึ่ง PBoC ปล่อยกู้แก่ธนาคารตามนโยบาย (policy banks)) ทั้งนี้ มาตรการนี้เกิดขึ้น ในขณะที่ PBoC ยังดูลังเลที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากตลาด เพราะถูกวิจารณ์ว่าเป็นการพิมพ์เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (monetizing fiscal deficits) • QE อันใหม่นี้ทำให้ฐานเงิน (monetary base) เพิ่มขึ้น ผ่านการเพิ่มเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากอยู่ที่ธนาคารกลาง (bank reserves) และมาตรการนี้ถือว่าเป็นไปตามรายงานการทำงานของรัฐบาล (government work report) ที่เผยแพร่ในการประชุม NPC (National People’s Congress)
5. Asia Insights/ China Monthly: The special stimulus and its impact on growth (1 June 2020)
• Nomura ปรับเพิ่มคาดการณ์ Q2 GDP ของ China เป็น +1.2% y-o-y จากเดิมคาด -0.5% เพื่อสะท้อนอุปสงค์ที่แข็งแกร่งที่อั้นไว้ในช่วง ปิดเมือง (pent-up demand) การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่กลับมาเพิ่มขึ้นมาก และอุปสงค์สินค้าทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดที่เพิ่มสูงขึ้น • อย่างไรก็ดี Nomura คาดว่า เมื่อเข้า Q3 ภาพของ pent-up demand คงลดระดับลง และการส่งออกอาจลดลงเพราะความต้องการสินค้าออกด้าน การแพทย์ถึงจุดสูงสุด และคำสั่งซื้อใหม่ด้านสินค้าออกจะแย่ลง ซึ่งในที่สุดจะกระทบการผลิต • ในขณะที่ช่วงดังกล่าว ทางการ Beijing ดูยังลังเลที่จะผ่อนคลายรอบใหม่ให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่มาตรการเว้นระยะห่างจากสังคม (social distancing) น่าจะขยายไปถึง H2 เพราะ COVID-19 ยังระบาดทั่วโลก นอกจากนี้ความตึงเครียดระหว่าง US-China อาจมีผลกระทบต่อการส่งออกของจีนและต่อการลงทุนของภาคการผลิต ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ดังนั้น Nomura จึงปรับลดคาดการณ์ Q3 และ Q4 GDP เหลือ 4.5% และ 5.0% y-o-y ตามลำดับ จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5.8% และ 5.8% ส่งผลให้ Nomura ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2020 เหลือ 1.3% จากเดิมคาดที่ 1.5% อย่างไรก็ดี Nomura คงคาดการณ์ GDP ปี 2021 ที่ 8.8% • หลัง COVID-19 ทางการ Beijing น่าจะหันมาพึ่งการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ แต่การที่ลังเลที่จะมีการขาดดุลงบประมาณมากขึ้น Nomura คิดว่า Beijing ทำให้จะหันมาพึ่งรัฐบาลท้องถิ่น มากกว่ารัฐบาลกลาง ในการก่อหนี้และใช้จ่าย โดยน่าจะเน้นที่เรื่องการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แทนที่จะทำทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านโครงสร้าพื้นฐาน ด้านอสังหาริมทรัพย์และด้านยานยนต์พร้อมๆกันเหมือนในอดีต
6. Asia Insights/ China’s official manufacturing PMI fell further in May ( 1 June 2020)
• China รายงาน Purchasing Managers’ Index (PMI) เดือน พ.ค. โดยที่ official PMI (manufacturing) ลดลงเหลือ 50.6 (Consensus: 51.1; Nomura: 50.8 ) จาก 50.8 ในเดือน เม.ย. และ 52.0 ในเดือน มี.ค. ขณะที่ PMI (non-manufacturing) เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 53.6 จาก 53.2 สะท้อนการฟื้นตัวช้าๆ • Nomura เห็นว่า รายงาน PMI กำลังสนับสนุนการคาดการณ์ของ Nomura ที่เพิ่งปรับมุมมอง Q2 GDP ว่าจะขยายตัว 1.2% y-o-y (Q1 : -6.8%) อย่างไรก็ดี Nomura ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ใน H2 ลง • Nomura คาดว่าธนาคารกลางของจีน (People’s Bank of China (PBoC))จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงิน ผ่านการลดอัตราการกันสำรอง (reserve requirement ratio (RRR)) ตลอดจนปล่อยกู้ผ่านหน้าต่างปล่อยกู้ (facilities) อื่นๆ มากขึ้นในเร็วๆ นี้
7. Asia Insights/ Thailand: A current account deficit in April despite a sharp drop in domestic demand (1 June 2020)
• ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงาน ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน ( private consumption index (PCI)) ลดลง -15.1% y-o-y ในเดือน เม.ย. จาก -2.7% ในเดือน มี.ค. และดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (private investment index (PII)) ลดลง -6.1% จาก -8.7% ในด้านอุปทาน ดัชนีผลผลิตภาคหัตถอุตสาหกรรมหดตัว -17.2% y-o-y จาก -10.5% นำการลดลงโดยหมวดยานยนต์ • ในด้านต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาขาดดุล -USD0.7bn ในเดือนเม.ย. จากที่เกินดุล USD0.7bn ในเดือน มี.ค. เพราะไม่มีนักท่องเที่ยว ขณะที่มีการส่งกลับเงินปันผลของนักลงทุนต่างประเทศ • Nomura คงคาดการณ์ GDP 2020 ที่ -6.3% ซึ่งแย่กว่าที่ ธปท. คาด (-5.3%) และคงคาดการณ์การเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ปี 2020 ไว้ที่ 0.3% ของ GDP ต่ำกว่าที่ ธปท.คาด (3.8% ของ GDP) อย่างไรก็ดี Nomura เห็นว่ามีความเสี่ยงที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะมากกว่าที่ Nomura คาด เพราะการส่งออกทองคำเพิ่มขึ้นมาก ในด้านนโยบายการเงิน Nomura คาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bp ใน Q3
|